◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙◘ ◙
║ ║║ ║ ║ ║║ ║║║║ ║║ ║║ ║║ ║║ ║║ ║║ ║║ ║║ ║║ ║║ ║║ ║║ ║║ ║
七夕祭 Tanabata Matsuri
◙◘ ประวัติที่มาของเทศกาลทานาบาตะโดยย่อ
เรื่องเกิดขึ้นจาก โอริฮิเมะ (เจ้าหญิงทอผ้า) ได้พบรักกับ ฮิโคโบชิ (ชายเลี้ยงวัว) แต่ทั้งสองได้ละทิ้งหน้าที่การงานจึงทำให้ถูกลงโทษไม่ให้พบกันอีก แต่เนื่องจากผู้เป็นพ่อของโอริฮิเมะทนเห็นลูกตัวเองร้องไห้ไม่ได้ จึงอนุญาติให้ทั้งสอบพบกันได้วันที่ 7เดือน 7 แต่มีทางช้างเผือกขวางกั้น ทั้ง 2 จึงทำให้ โอริฮิเมะ ร้องไห้อย่างหนัก ทำให้ฝูงนกกางเขนเข้ามาต่อปีกทำเป็นสะพาน แต่ถ้าปีใหนที่ฝนตกจะทำให้นกเข้ามาต่อปีกไม่ได้ จะต้องทำให้รอไปปีหน้าถึงจะได้พบกันอีก
◙◘ กิจกรรมที่ทำในวันที่ 7 เดือน 7
ประดับบ้านด้วยต้นไผ่ ติดกระดาษสีเขียนข้อความขอพรต่อเทวดา
◙◘ ธรรมเนียม
สำหรับญี่ปุ่นยุคปัจจุบันแล้ว ชาวญี่ปุ่นจะฉลองเทศกาลนี้ด้วยการเขียนถึงความหวังของตน บางครั้งก็เขียนเป็นกลอนลงบน"ทันซากุ" (短冊) ซึ่งเป็นแถบกระดาษเล็กๆ แล้วนำไปห้อยกับต้นไผ่ ที่บางครั้งก็เอาอย่างอื่นมาประดับตกแต่งต้นไผ่ไปด้วย ของประดับต้นไผ่นี้จะนำมาลอยในแม่น้ำ หรือเอามาเผาหลังจบเทศกาลนี้ ซึ่งมักเป็นช่วงเที่ยงคืนหรือในวันถัดไป
ซึ่งคล้ายกันกับธรรมเนียมการลอยเรือกระดาษเล็กๆกับเทียนในแม่น้ำช่วงเทศกาลโอบง เทศกาลทานาบาตะจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละท้องถิ่น เนื่องจากเทศกาลทานาบาตะเกี่ยวข้องกับเทศกาลโอบงอยู่บ้าง เลยมีเพลงพื้นบ้านในเทศกาลนี้ด้วย
"ซาระ โน ฮา ซาระซาระ (笹の葉 さらさら)
โนคิบะ นิ ยูเรรุ (軒端にゆれる)
โอโฮชิซามะ คิระคิระ (お星様 キラキラ)
คินกิน ซึเนโกะ (金銀砂子)"
"ใบไผ่พัดพาดังกรอบแกรบ
ต่างสั่นไหวเลียดชายคา
ดวงดาวพร่างพราวกะพริบแสง
อันเป็นผงธุลีแห่งทองเงิน"
◙◘วันเวลาที่จัดงานเทศกาล
เทศกาลทานาบาตะตามแบบดั้งเดิมนั้นจะอ้างอิงตามปฏิทินจันทรคติของญี่ปุ่น ซึ่งแต่ละเดือนในปฏิทินนี้จะตามหลังเดือนในปฏิทินแบบเกรกอเรียนที่ใช้กันสากลในปัจจุบัน ทำให้บางเทศกาลจัดในวันที่ 7 กรกฎาคม บางที่ก็จัดในช่วงวันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงจัดเทศกาลทานาบาตะในวันที่ 7 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติของญี่ปุ่น ซึ่ง
ตรงกับเดือนสิงหาคมในปฏิทินเกรกอเรียน (ปฏิทินสากล)
Credit::
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น